วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำกกตำบลแม่ยาวโซนบน

วิสัยทัศน์ คข.
ชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯตำบลแม่ยาวตอนบนเป็นชุมชนเข้มแข็งมีศักยภาพในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขทำให้สมาชิกในชุมชนเครือข่ายฯสามารถสนับสนุนงานชุมชนด้านจริยธรรม คุณธรรม(หลักข้อเชื่อ,ศาสนา)และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามไปสู่ชั่วลูกชั่วหลาน
      ภารกิจ
หมู่บ้านสมาชิกใน เครือข่ายสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำกกตำบลแม่ยาวตอนบน มีแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างศักยภาพในการลงแผนงานกิจกรรม การระดมทุนและสร้างความตระหนักในการจัดการ ทำให้การต่อรอง เพื่อให้เกิดการยอมรับในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์
1)      ส่งเสริมให้ชุมชนสำรวจที่ดินชุมชน เป็นการสร้างหลักฐาน การใช้ประโยชน์ในที่ดินของสมาชิกหมู่บ้านในเครือข่าย ฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการจัดการที่ดินและสิทธิอื่นๆในอนาคต
2)      ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และการจัดตั้งป่าชุมชนโดยการจัดทำแผนการจัดการและส่งเสริมกิจกรรมการต่างๆให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ทั้งการอนุรักษ์ฟื้นและการใช้ประโยชน์ในชุมชนอย่างยั่งยืน
3)  ส่งเสริมทางเลือกระบบการเกษตรยั่งยืนบนพื้นที่สูง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและตามหลักแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4)          ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและ การบริหารจัดการความร่วมมือของเครือข่ายฯและการเชื่อมโยงกับองค์กรพันธมิตรและหน่วยงานราชการในท้องถิ่น
     แผนกิจกรรม
1.  การสำรวจที่ดินชุมชน จากแผนที่ 1:4,000  ในพื้นที่ เพื่อสร้างหลักฐานทางที่ดินและเขตพื้นที่ป่าของชุมชน

2.  พัฒนาชุดองค์ความรู้และความร่วมมือของสมาชิกเครือข่าย  เพื่อสร้างศักยภาพในการจัดการให้ชุมชนสมาชิกเครือข่าย

3.  สร้างความตระหนักและให้เกิด ความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติโดยมีการพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการที่ชัดเจนภายในชุมชน
4.  พัฒนาแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯสร้างโอกาสระดมทุน ภายในเครือข่าย ทั้งจากภายนอกเครือข่ายในการพัฒนางานเครือข่ายฯ

5.  ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำเพื่อฟื้นฟูให้เกิดการอนุรักษ์ความหลากหลายแหล่งอาหารตามธรรมชาติและวางมาตรการในการดูแลรักษาให้เกิดความยั่งยืน

6.  ส่งเสริมการปลูกแปลงวนเกษตรครอบครัว โดยผสมผสานพืชอาหารพื้นเมืองและการปลูกชาอัสสัมและกาแฟโรบัสต้า เพื่อเพิ่มทางเลือกระบบการเกษตรบนพื้นที่สูง(มีอาหาร  มีวัสดุใช้สอย ให้กับครอบครัว) ทำให้มีความหลักหลาย และฟื้นฟูธรรมชาติ ให้เกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรที่ดิน

7.  ส่งเสริมกิจกรรมป่าชุมชน และการจัดทำแผนการจัดการป่าชุมชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝาย ของคนในชุมชนในการดำเนินการและเกิดการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในชุมชน
กลุ่มสมาชิก
1.   บ้านพนาสวรรค์ ม.13 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย
2.   บ้านห้วยลุหลวง ม.13 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย
3.   บ้านห้วยสักกอง ม.13 ต.แม่ยาว    อ.เมือง จ.เชียงราย
4.   บ้านอาเกอะ ม.13 ต.แม่ยาวอ.เมือง จ.เชียงราย
5.   บ้านออบเสือแหวน ม.15 ต.แม่ยาว อ.เมือง จ.เชียงราย
6.   บ้านสามเส้า ม.15 ต.แม่ยาว  อ.เมือง จ.เชียงราย
7.   บ้านแคววัวดำ ม.12 ต.แม่ยาวอ.เมือง จ.เชียงราย
8.   บ้านผามูบ ม.12 ต.แม่ยาวอ.เมือง จ.เชียงราย
9.  บ้านจะทอ ม.18 ต.แม่ยาวอ.เมือง จ.เชียงราย

                               
        
       
            
          
                
                       

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พืชวนเกษตร

พืชวนเกษตรนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความท้าทายอย่างมากในยุคแห่งความเร่งด่วน ที่ทุกนาทีของเวลาที่มีและต้องแข่งขันกับเวลา ซึ่งความรีบร้อนเหล่านี้มักจะไม่ค่อยมีเวลาที่จะคิดหรือการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในด้านความปลอดภัยของอาหารต่าง ๆ ที่รับประทานเข้าไป ทั้งพืชผักต่าง ๆและอาหารสำเร็จรูป  มากนัก วันนี้มี เรื่องราวดี ๆ มากระตุกความคิดให้กับ กลุ่มคนรักษ์สุขภาพ  ถ้าพูดถึงวนเกษตร นับได้ว่าเป็นเกษตรทางเลือกทีกำลังสวนกระแสกับสังคมที่เป็นการผลิตเพื่อการพานิชน์ ที่มีความต่างในด้านปริมาณมาณการผลิต พืชวนเกษตรส่วนใหญ่ เป็นพืชป่าที่เริ่มหาตามตลาดทั่วไปได้ยากในปัจจุบัน ตัวอย่าง เช่น มะลิดไม้(เพกา) เต่าร้าง ดอกต้าง ฯลฯ